เศรษฐกิจของอินเดีย

เศรษฐกิจของอินเดีย

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 มิ.ย. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 22,816 view

ข่าวเศรษฐกิจ ลำดับที่ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2553

เศรษฐกิจของอินเดีย           

ก. ภาพรวมทางเศรษฐกิจของอินเดีย

1.   ในช่วง 2552-2553 ขณะที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤติการเงิน ส่งผลให้การส่งออกลดลงหรือ    ติดลบ แต่เศรษฐกิจของอินเดียก็สามารถเติบโตประมาณร้อยละ 8  โดยมีภาคการผลิตเป็นปัจจัยผลักดัน สัดส่วนของภาคการผลิตของอินเดียคิดเป็นร้อยละ 27 ของเศรษฐกิจ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ          (เศรษฐกิจอินเดียโตเป็นลำดับที่ 14 ของโลก) และคาดว่าในปี 2558 เศรษฐกิจของอินเดียจะขยายตัว       ถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

2.  อินเดียมีประชากร 1.13 พันล้านคน มีประชาชนในวัยแรงงานจำนวน 625 ล้านคน อินเดียเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่สามารถส่งออกแรงงานในสาขาต่างๆ  เช่น นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร พยาบาลไปทำงานทั่วโลก อินเดียมีทรัพยากรแร่ธาตุมากมาย เป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตรายสำคัญของโลก

3.   นับ ตั้งแต่อินเดียเปิดเสรีทางเศรษฐกิจเมื่อต้นทศวรรษที่ 1990 ได้เปิดช่องทางให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง โดยรัฐบาลอินเดียได้อำนวยความสะดวกด้วยการลดขั้นตอนการเข้ามาลงทุนของบริษัท ลงทุนต่างชาติ (FDI)   ใน ปี 2549-2550 บริษัทต่างชาติได้เข้ามาลงทุนในสาขาอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้างต่างๆ ภาคบริการ การคมนาคมสื่อสาร อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์  โดยมี FDI จำนวน 15.7 พ้นล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.31 ของ GDP และในช่วงปี 2550-2551 FDI เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มจากปีก่อน   ร้อยละ 56  และปี 2551-2552  FDI เพิ่มขึ้นประมาณ 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยอินเดียได้ถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนแห่งหนึ่งของโลก ดังรายละเอียดปรากฏตามดัชนีต่างๆ อาทิ

        - Global Retail Development Index 2009 จัดทำขึ้นโดยบริษัท A T Kearny บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนที่มีชื่อเสียงของโลก  ได้จัดอินเดียอยู่ในลำดับ 1 ใน 30 ของตลาดใหม่ (emerging market) ที่ดึงดูดการค้าการลงทุนมากที่สุดในโลก โดยมีรัสเซียเป็นลำดับ 2 และจีนเป็นลำดับ 3

4.   ปัจจุบัน อินเดียเปิดรับการลงทุนในสาขาต่างๆ อาทิ การผลิตกระแสไฟฟ้า การก่อสร้างถนน การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ท่าเรือ ระบบโทรคมนาคม การแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ  

ข.  ภาคธุรกิจของอินเดียแยกตามรายสาขา

1.  ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) SMEs คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ของจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมในอินเดีย และทำรายได้ร้อยละ 40 ของภาคการผลิต  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35 ของมูลค่าสินค้าส่งออกของอินเดีย ทั้งนี้ ภาค SMEs ช่วย ให้แรงงานจำนวน 31 ล้านคนมีงานทำในบริษัท 12.8 ล้านแห่ง

2.  การค้า  อินเดีย เป็นตลาดใหม่และเป็นคู่ค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยที่ผ่านมาปริมาณการค้าระหว่างอินเดีย-อียู เพิ่มสูงขึ้นถึง 55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สืบเนื่องจากความตกลงเปิดเสรีทางการค้าอินเดีย-อียู ซึ่งอียูได้ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าแก่อินเดีย นอกจากนี้ ความตกลงทางการค้าอินเดีย-แคนาดาจะส่งเสริมให้การค้าทวิภาคีเพิ่มจากระดับ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า และปัจจุบันอินเดียพยายามเร่งทำความตกลงในทำนองเดียวกันกับออสเตรเลียเพื่อ เร่งการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างอินเดียและออสเตรเลียต่อไป

      - ในปี 2551 ปริมาณการค้าของอินเดียเท่ากับ 414 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้า 251 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งออก 163 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดส่งออกร้อยละ 51.7 เป็นตลาดในเอเชีย รองลงมาร้อยละ 22.9 เป็นตลาดในยุโรป ร้อยละ 13.5 เป็นตลาดในอเมริกาเหนือ   ร้อยละ 7.1เป็นตลาดในแอฟริกา และร้อยละ 3.5 เป็นตลาดในละตินอเมริกา มีคู่ค้าสำคัญคือจีน สหรัฐฯ ซาอุดิอาระเบีย UAE  อิหร่าน เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สป. ออสเตรเลีย 

     - สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ RMG Cotton  ผลิตภัณฑ์เหล็ก อุปกรณ์ขนส่ง แร่เหล็ก  Cot. Yarn & Fabric 

     - สินค้านำเข้าสำคัญได้แก่น้ำมันดิบ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า  Transport Equipment  เครื่องจักร  ทองคำ  Iron & Steel  (ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสถิติต่างๆได้ที่เว็บไซด์ของ Exim Bank of India)

3.  ท่าเรือ  ตลอด ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาอินเดียพยามยามยกระดับขีดความสามารถของท่าเรือให้รองรับปริมาณ การขนส่งทางเรือเพิ่มขึ้น โดยเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน อินเดียให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงเครือข่ายถนนและทางรถไฟให้เชื่อมต่อ มายังท่าเรือต่างๆ และมีการขุดลอกให้ท่าเรือสามารถรองรับเรือที่มีระวางขับน้ำสูงขึ้นได้ ปัจจุบันอินเดียมีท่าเรือสำคัญๆ 12 แห่ง และมีท่าเรือขนาดเล็กลงมาอีก 185 แห่ง ซึ่งรองรับปริมาณการค้าระหว่างประเทศร้อยละ 95  มีท่าเรือ Vishakhapatnam เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด ในอีก 5 ปีข้างหน้าศักยภาพในการรับปริมาณขนส่งสินค้าของท่าเรือสำคัญทั้งหมดจะเท่ากับ 485 mtpa คณะกรรมการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอินเดียคาดว่าในแผนพัฒนาที่ 11 (ช่วง 2551-2555) จะ มีการลงทุนสร้างท่าเรือถึง 18-20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภาคเอกชนจะลงทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 74 ของเงินลงทุนทั้งหมด อย่างไรก็ดี ปัจจุบันท่าเรือต่างๆ ในอินเดียยังคงเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับท่าเรือของประเทศตะวันตก 

4.  ระบบสาธารณูปโภค  อินเดียยังต้องการการลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอีกมาก การคมนาคมทางถนนเป็นระบบคมนาคมหลักของประเทศ อินเดียมีทางด่วน (multilaned expressways) ไม่ถึง 1,000 กม.  ขณะที่สหรัฐฯ มีทางด่วน 89,000 กม. จีนมี 54,000 กม. ปัจจุบันโครงการพัฒนาระบบทางด่วนแห่งชาติอินเดียอยู่ใน Phrase III  ซึ่งจะเพิ่มทางด่วน 4 ช่องทางจราจรได้อีก 10,000 กม. และเพิ่มอีก 20,000 ซึ่งอยู่นอกเหนือแผนข้างต้น อินเดียประสงค์ให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับภาครัฐให้มากยิ่งขึ้น และแม้ว่าปัจจุบันอินเดียมีถนน 3.3 ล้าน ตร.กม.  แต่การที่อินเดียขาดถนนหนทางที่มีคุณภาพก็เป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

5.  เหล็ก ปัจจุบันอินเดียเป็นผู้ผลิตเหล็กลำดับ 5 ของโลก โดยผลิตเหล็กดิบได้ 55.2 ล้านตันต่อปี        โดย Credit Suisse กล่าว ว่า อุตสาหกรรมผลิตเหล็กของอินเดียจะยังคงโตร้อยละ16 ต่อปีจนถึงปี 2555 เนื่องจากมีความต้องการใช้เหล็กสำหรับโครงการก่อสร้างต่างๆ เป็นมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ กระทรวงเหล็กได้คาดการณ์ว่า กำลังการผลิตเหล็กจะเพิ่มถึง 124.06 ล้านตันในปี 2554-2555 ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่บริษัทเอกชนต่างๆ ได้มีกับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งคาดว่ากำลังการผลิตเหล็กของอินเดียจะเพิ่มเกือบถึง 293 ล้านตันในปี 2563

6. พลังงาน   รัฐบาลอินเดียต้องการให้เอกชนต่างชาติเข้ามาลงทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น       โดย มีโครงการต่างๆ รวมมูลค่าถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ปัจจุบันบริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนเพียงร้อยละ13 ของกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าของอินเดียและค่อยๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลอินเดียได้ให้บริษัทเอกชนผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 12 GW  อินเดียมีปริมาณสำรองของ   ถ่านหินมากถึง 900 พันล้านตัน (เป็นหนึ่งในประเทศที่มีปริมาณถ่านหินมากที่สุดในโลก) ดังนั้น แหล่งพลังงานไฟฟ้าของอินเดียร้อยละ 53.3 มาจากพลังงานถ่านหิน ร้อยละ 10 มาจากก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 25 มากจากพลังงานน้ำ ร้อยละ 2.9 มาจากพลังงานนิวเคลียร์ และที่เหลือร้อยละ 7 มาจากพลังงานอื่นๆ    อาทิ ลม

7.  โทรคมนาคม  ระบบ โทรคมนาคมของอินเดียใหญ่เป็นลำดับ 3 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับสองในแง่เครือข่ายไร้สาย โดยในเดือน พ.ย. 2552 มีเครือข่ายถึง 506.04 ล้านเครือข่าย  มี BSNL (Bharat Sanchar Nigam Ltd.)    หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ประกอบการอันดับ 1 และใหญ่ที่สุดในอินเดีย และเป็นบริษัทโทรคมนาคมใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก ในด้านจำนวนลูกค้า  ตลาดโทรศัพท์มือถืออินเดียเติบโตเร็วที่สุด  ใน โลก โดยทุกๆเดือนจะมีผู้ขอใช้หมายเลขโทรศัพท์เพิ่มถึง 16.67 ล้านหมายเลข และเมื่อเดือนตุลาคม2552 อินเดียมีหมายเลขโทรศัพท์รวม 543 ล้านหมายเลข

8. ธนาคาร  ธุรกิจธนาคารคิดเป็นร้อยละ 6 ของ GDP และ ร้อยละ 11 ของธุรกิจภาคบริการ ธุรกิจภาคการเงินได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี ธุรกิจธนาคารของภาครัฐมีสินทรัพย์จำนวนร้อยละ 75 ของภาคธนาคารทั้งหมด โดยภาคเอกชนและธนาคารต่างชาติมีสินทรัพย์จำนวนร้อยละ 18.2 และ 6.5 ตามลำดับ ปัจจุบันธุรกิจธนาคารของโลกเน้นการบริหารความเสี่ยงสืบเนื่องจากวิกฤตทางการ เงิน  และมีแนวโน้มชำระเงินค่าใช้จ่ายด้วยวิธีการอื่น อาทิ โทรศัพท์มือถือและบริษัทบริการโทรศัพท์และร้านค้าบัตรเติมเงิน

9.  เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ  อินเดีย มีอัตราการเจริญๆเติบโตด้านเกษตรกรรมสูงมากสืบเนื่องจากมีแรงงานในภาค เกษตรกรรมที่มีการศึกษาและมีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่เนื่องจากประชาชนร้อยละ 75 ดำรงชีวิตอยู่ในภาคเกษตรกรรม  และ สืบเนื่องจากอินเดียมีความหลากหลายทางชีวภาพและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยว เนื่องกับยา ดังนั้น จึงมีการลงทุนในการพัฒนาด้านยาจำนวนมาก โดยกรมเทคโนโลยี ชีวภาพของอินเดียได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาแรงงานที่มีความชำนาญ ตลอดจนการส่งเสริมการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทเอกชน  ทำ ให้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โดยตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพโดยเฉพาะชนิดของยาได้รับการรับรอง จากสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากการคาดการณ์ขนาดของอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพมี  ขนาดถึง 1.5 - 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยตลาดภาคเกษตรกรรมมีมูลค่าระหว่าง 450-500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และตลาดในด้านวัคซีนมีขนาด 150-420 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

10.  เทคโนโลยีสารสนเทศ  อินเดียเป็นผู้นำของโลกในด้าน IT  มีศูนย์กลางอยู่ที่ Bangalore, Hyderabad, Chennai, Pune  ทุกปีจะมีผู้สำเร็จการศึกษาด้าน IT จำนวน  4 แสนคน ในจำนวนดังกล่าวมีจำนวน 1 แสนคนที่มีความรู้และสามารถใช้และพูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศที่ใช้ broadband internet มากเป็นลำดับที่ 12 ของโลก  เมือง Bangalore เป็น Silicon Valley ของอินเดีย มีกำลังการผลิดคิดเป็นร้อยละ 33 ของสินค้า IT ส่งออกของอินเดีย  บริษัทผลิต software ใหญ่เป็นลำดับ 2 และ 3 ของอินเดียตั้งอยู่ที่เมือง Bangalore  แต่ละปีอินเดียส่งออกผลิตภัณฑ์ IT เป็นมูลค่าถึง 47.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

11.  การบิน  อินเดียมีท่าอากาศยานมากกว่า 100 แห่ง มี 16 แห่งเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ ที่เหลือเป็นท่าอากาศยานภายในประเทศ  ท่า อากาศยานส่วนใหญ่ต้องการการปรับปรุงและยกระดับให้ทันสมัย โดยรัฐมีนโยบายส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการลงทุนพัฒนา ปรับปรุงท่าอากาศยาน 

       - ปัจจุบันอินเดียมีสายการบินเอกชน 10 สายการบิน ซึ่งเปิดให้บริการร้อยละ 75 ของการบินภายในประเทศ มีสายการบินราคาถูกครอบครองตลาดร้อยละ 50 ของตลาดการบินภายในประเทศ          

       - รัฐบาลมีแผนที่ 11 (ปี 2551-2555) ที่ จะยกระดับท่าอากาศยานเมืองมุมไบและกรุงนิวเดลี ตลอดจนท่าอากาศยานอื่นๆ ในเมืองสำคัญๆทั่วอินเดีย โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าภาคเอกชนจะลงทุนร้อยละ 60 ของเงินลงทุนทั้งหมด และในขณะนี้ท่าอากาศยานเมืองมุมไบและกรุง    นิ วเดลีได้มอบให้ภาคเอกชนลงทุนพัฒนาและขยายความสามารถในการรองรับจำนวนนักท่อง เที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นแล้ว โดยในปี 2555 คาดว่าจะยกระดับท่าอากาศยานเมืองมุมไบให้รองรับผู้โดยสารได้ 40 ล้านคนต่อปี และขยายท่าอากาศยานกรุงนิวเดลีให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 35 ล้านคนต่อปีในปี 2554

                                               * * * * * * * * * * * * *