การคัดเลือก 20 เมืองแรกเพื่อพัฒนาเป็นเมืองอัจริยะ (Smart City)

การคัดเลือก 20 เมืองแรกเพื่อพัฒนาเป็นเมืองอัจริยะ (Smart City)

วันที่นำเข้าข้อมูล 19 มี.ค. 2559

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,626 view

หลังจากที่ รบ. กลางได้ประกาศรายชื่อเมืองทั้งหมด 100 เมืองทั่วประเทศเพื่อพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะตามนโยบายของ นรม. โมดี (100 Smart cities) โดยกระทรวงพัฒนาชุมชนเมือง (Ministry of Urban Development) ได้คัดเลือกเมืองในรอบแรกจำนวน 20 เมืองจาก 100 เมือง ซึ่ง รบ. จะจัดสรร งปม. จำนวน 2.8 หมื่นล้านบาท (5.3 หมื่นล้านรูปี) เป็นระยะเวลา 5 ปี ให้พัฒนาด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐาน (Basic Infrastructure) 2) การผลิตน้ำและพลังงาน (Water and power supply) 3) การจัดการด้านสาธารณสุขและ การกำจัดขยะ (Sanitation and solid waste management) 4) การขนส่งสาธารณะ (Public transportation)  5) การเชื่อมโยงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Connectivity) และ 6) การบริหารจัดการของภาครัฐโดย      ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการมีส่วนร่วมของประชาชน (E-governance and citizen participation)

เมืองที่ได้รับเลือกในอันดับ 1 คือ เมืองภูบะเนชวา (Bhubaneshawar) รัฐโอดิชา (Odisha) อันดับ 2 คือ เมืองปุเณ (Pune) รัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) อันดับ 3 คือ เมืองใจปู (Jaipur) รัฐราชสถาน (Rajasthan) และอันดับ 4 คือ เมืองสูรัต (Surat) รัฐคุชราต (Gujarat) ซึ่งเมืองที่ได้รับเลือกมีประชากรน้อยกว่า 5 ล้านคน ยกเว้นเมืองเจนไน ทั้งนี้ ในจำนวนเมืองที่ได้รับเลือกในรอบแรก มีเมืองจากรัฐมหาราษฏระ 2 เมือง คือ เมืองปุเณ และเมืองโสลาปู (Solapur) ในขณะที่เมืองมุมไบ (Mumbai) เมืองนาวีมุมไบ (Navi Mumbai) และเมืองฐาเน (Thane) ไม่ได้รับเลือก

มีกระแสความไม่พอใจจากประชาชนและนักการเมืองท้องถิ่นของเมืองที่ได้ไม่ได้รับเลือก ทำให้ นาย Venkaiah Naidu รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาชุมชนเมืองต้องออกมาชี้แจงว่า รบ. กลางจะคัดเลือกเพิ่มเติมอีก 40 เมืองในรอบที่ 2 และอีก 40 เมืองในรอบที่ 3 ซึ่งทางการของเมืองมุมไบจะปรับปรุงข้อเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองมุมไบเพื่อให้ได้รับเลือกในรอบที่ 2