การประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2552 Recipients of the 2009 Prince Mahidol Award

การประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2552 Recipients of the 2009 Prince Mahidol Award

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 ธ.ค. 2552

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,639 view
วันนี้ (3 ธันวาคม 2552) มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีแถลงข่าวการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2552 ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ได้แก่ ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติและประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และนางสาววิมล คิดชอบ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ พร้อมด้วยนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายแดเนียล  โรเบิร์ต พรูซ อัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย          ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2552 ได้พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2552 จำนวน 66 ราย จาก 35 ประเทศ โดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ มีมติตัดสินให้ศาสตราจารย์แอนน์ มิลส์ (Professor Anne Mills) ศาสตราจารย์ด้านนโยบายและเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ภาควิชาสาธารณสุขและนโยบาย London School of Hygiene and Tropical Medicine มหาวิทยาลัยลอนดอนสหราชอาณาจักร เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2552 สาขาการแพทย์ และนายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศมองโกเลีย อดีตผู้อำนวยการคนแรกศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ กระทรวงสาธารณสุข และนายมีชัย วีระไวทยะ ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2552 สาขาการสาธารณสุข โดยมีรายละเอียด ดังนี้

สาขาการแพทย์ ศาสตราจารย์แอนน์ มิลส์  เป็นผู้นำในการนำความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการคลังสุขภาพซึ่งเป็นความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพของโลก โดยอาศัยข้อค้นพบที่ว่า “การลงทุนด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเป็นธรรมในสังคม” ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทั่วโลกในการลงทุนด้านสุขภาพและการใช้ทรัพยากรที่จำกัดอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อย่างกว้างขวางนอกจากนี้ ศาสตราจารย์แอนน์ มิลลส์ ยังมีบทบาทอย่างสูงในการสร้างความเข้มแข็งแก่นักวิจัยและเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรวิจัยในประเทศกำลังพัฒนาในแถบแอฟริกาและเอเซีย โดยมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การคลังสุขภาพ การวิจัยระบบและนโยบายสุขภาพ โดยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และโครงการวิจัยแก่นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมากมายจากหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการแพร่ขยายการดำเนินการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขไปทั่วโลก ผลงานของศาสตราจารย์แอนน์ มิลลส์ ก่อให้เกิดการลงทุนด้านสุขภาพมากกว่า 4 เท่า ในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา สุขภาพของมวลมนุษย์ได้รับการยกระดับให้เป็นวาระแห่งการพัฒนาที่สำคัญในระดับประเทศและระดับโลกอัตราการเสียชีวิตของเด็กและคนจนในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชียลดลงอย่างชัดเจนเป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมวลมนุษย์นับพันล้านคนทั่วโลก สาขาการสาธารณสุขนายแพทย์วิวัฒน์  โรจนพิทยากร  ขณะรับราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เขต 4 จังหวัดราชบุรี เมื่อปี 2532 ได้ริเริ่มโครงการถุงยางอนามัย 100% (100% Condom Use Programme) ขึ้นในจังหวัดราชบุรี โดยการสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นของการป้องกันโรคเอดส์แก่ทุกภาคส่วน  ที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายปกครอง ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายเพศพาณิชย์และหญิงบริการ จนสามารถส่งเสริมการใช้ถุงยางอนามัยแบบผูกขาดให้หญิงบริการทั้งจังหวัดปฏิเสธลูกค้าที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัย (No Condom – No Sex) ส่งผลให้การติดเชื้อเอดส์ในหญิงบริการลดลงอย่างมาก และสามารถป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อเอดส์ในสังคมได้ นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร จึงได้ดำเนินการแพร่ขยายโครงการถุงยางอนามัย 100% ไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ส่งผลให้การมีผู้ป่วยเอดส์ใหม่ลดลงจาก 400,000 ราย ในปี 2534 เหลือน้อยกว่า 14,000 ราย ในปี 2544 นอกจากนี้ นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ยังได้นำโครงการถุงยางอนามัย 100% ไปใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ ได้แก่ กัมพูชา พม่า จีน มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนามและลาว ซึ่งปรากฏผลสำเร็จด้วยดีเช่นกัน องค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก ธนาคารโลก UNAIDS USAID ให้การยอมรับว่าโครงการถุงยางอนามัย 100% เป็นวิธีการป้องกันโรคเอดส์ที่ประสบความสำเร็จสูงมาก อีกทั้งเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการเปลี่ยนพฤติกรรมอีกด้วย ผลงานถุงยางอนามัย 100% ของนายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคเอดส์อย่างมาก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลกนายมีชัย  วีระไวทยะ เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2517 ซึ่งต่อมา  ได้พัฒนาเป็น “สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน” (Population and Community Development Association - PDA) ให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวแก่หญิงชนบท สนับสนุนการคุมกำเนิดขั้นพื้นฐานด้วยการใช้ถุงยางอนามัย โดยรณรงค์สื่อสารที่เป็นเอกลักษณ์จนทำให้การใช้ถุงยางอนามัยไม่ใช่สิ่งลึกลับ น่าอับอาย หรือเป็นสิ่งต้องห้าม  แต่สามารถกล่าวถึงและใช้งานเป็นของธรรมดาอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งชื่อ “มีชัย” เป็นที่รู้กันว่าหมายถึงถุงยางอนามัยผลงานของนายมีชัย วีระไวทยะ ได้กระตุ้นให้รัฐบาลและสังคมทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ถุงยางอนามัย ซึ่งมีส่วนช่วยควบคุมการแพร่กระจายของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย และเมื่อโรคเอดส์ระบาดในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ระหว่างปี 2523 - 2533  นายมีชัย วีระไวทยะ ได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิธีการสื่อสารเรื่องโรคเอดส์ในระดับชาติ และการรณรงค์ป้องกันที่มีส่วนสำคัญๆ หลายเรื่อง รวมถึงการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในโครงการถุงยางอนามัย 100% ด้วย เป็นตัวอย่างความสำเร็จของประเทศไทยในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีในเวทีระดับโลกอีกด้วย ผลงานการเผยแพร่การใช้ถุงยางอนามัยของนายมีชัย วีระไวทยะ จึงเป็นต้นทางการก่อประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมวลมนุษย์นับหลายร้อยล้านคนทั่วโลก

          ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2552 ในปลายเดือนมกราคม 2553 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท             มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ก่อตั้งขึ้นในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานมอบรางวัลให้แก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ บุคคลหรือสถาบันทั่วไปสามารถเสนอชื่อและผลงานของบุคคลหรือองค์กรให้คณะกรรมการรางวัลนานาชาติมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ คัดเลือกเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลประจำปี ซึ่งมี 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลด้านการแพทย์และด้านการสาธารณสุข โดยแต่ละรางวัลประกอบด้วยเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ ที่ผ่านมา มีบุคคลหรือองค์กรได้รับรางวัลนี้แล้วรวมทั้งสิ้น 51 ราย ในจำนวนนี้ มี 2 ราย ที่ได้รับรางวัลโนเบลในเวลาต่อมา คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ แบรี่ มาร์แชล และศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ ฮาร์ลด์ ซัวร์ เฮาเซน

On 3 December 2009, the Prince Mahidol Award Foundation under the Royal Patronage held a press conference to announce the Prince Mahidol Award for 2009 at the Prince Mahidol Museum, Syamindra Building, Faculty of Medicine Siriraj Hospital. The press conference was participated by Clinical Professor Teerawat Kulthanan (Dean of Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, in his capacity as Vice President of the Prince Mahidol Award Foundation), Clinical Professor Vicharn Panich (Chairman of the International Award Committee of the Prince Mahidol Award Foundation), Clinical Professor Supat Vanichakarn (Secretary-General of the Prince Mahidol Award Foundation) and Miss Vimon Kidchob (Director-General of Department of Information, Ministry of Foreign Affairs, in her capacity as Chairman of the Sub-Committee on Public Relations of the Prince Mahidol Award Foundation). Present at the press conference were also Mr. Witthaya Kaewparadai, Minister of Public Health of Thailand and Mr. Daniel Robert Pruce, Counselor and Deputy Head of Mission of the United Kingdom to Thailand.           The Board of Trustees of the Prince Mahidol Award Foundation, chaired by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, was convened on 27 November 2009 to select the Prince Mahidol Awardees for 2009 from a list of 66 nominees from 35 countries. In this connection, the Board of Trustees decided to grant this year’s Prince Mahidol Award in the field of medicine to Professor Anne Mills, Department of Health Economics and Policy, London School of Hygiene and Tropical Medicine, University of London, United Kingdom. In the field of public health, the Prince Mahidol Award will be jointly awarded to Dr. Wiwat Rojanapithayakorn, World Health Organization Representative to Mongolia, Former First Director, Prevention and Control of AIDS Center, Ministry of Public Health of Thailand, and Mr. Mechai Viravaidya, Founder and Chairman of the Board of Directors, Population and Community Development Association. Details as follows:  In the Field of Medicine: Professor Anne Mills is a world leader in the development and application of economic tools to improve policy-making and practice of healthcare systems. Her work has influenced major health policies, both at national and international levels, by demonstrating that “proper investments in medicine and public health will have a major impact on economic growth and social equality”.Professor Mills has also played a major role in strengthening the capability of developing countries in Africa and Asia, in health economics, health system research and healthcare policy development.  She has supervised a new generation of health economists and policy makers who have are played significant roles in several countries, including Thailand. This has helped spread the concept of health economics around the world. Her work has made public healthcare a major issue in the global policy agenda and resulted in a four-fold increase in public healthcare investment over the past two decades. By directing healthcare resources to cost-effective interventions, the mortality rate of children and poor people in Africa and Asia has been reduced significantly, benefiting the health conditions of billions of lives in developing countries.

In the Field of Public Health: Dr. Wiwat Rojanapithayakorn, while serving as Director of the Office of Communicable Disease Control Region 4 in Ratchaburi, Thailand in 1989, initiated the “100% Condom Use Programme” which has been recognized worldwide as one the most successful HIV/AIDS prevention tools.The principle of the 100% Condom Use Programme is based on cooperation among all stakeholders, government authorities, provincial governors and officers, healthcare personel and commercial sex business operators. The key success factor was empowering commercial sex workers to refuse service if customers do not use condoms: No Condom – No Sex.  This led to the effective reduction of HIV infection among commercial sex workers and has proven effective in preventing sexual transmission of HIV in the general public.  This programme was then expanded throughout Thailand.  It played a crucial role in controlling of the spread of HIV infection, resulting in the reduction of new HIV cases from 400,000 cases in 1991 down to less than 14,000 new cases in 2001.  Dr. Wiwat actively advocated this programme internationally, including in Cambodia, Vietnam, Philippines, China, Myanmar, Mongolia and Lao PDR. His work has been recognized around the world.  Many international organizations, including the World Health Organization, World Bank, UNAIDS, USAID, recognize this 100% Condom Use programme as one of the most successful HIV prevention tools. It is also a successful example of behavioural change and social empowering in the public. This work has positively impacted several hundred millions of lives around the world.Mr. Mechai Viravaidya founded the Community-based Family Planning Services in 1974, currently known as the Population and Community Development Association (PDA), to provide family planning education for women in rural areas.  He has been a tireless proponent of the use of condoms to prevent unwanted pregnancies through unique communication campaigns, which have demystified condoms, previously a taboo subject and an unspoken issue in the public, so that they are now commonly-used items.  He is known as Mr. Condom and condoms are commonly referred to by his name.His work played a crucial role in awakening the government and civil society to address this issue.The widespread use of condoms also helps control the spread of sexually-transmitted diseases.  When the HIV epidemic hit Thailand and other countries in 1980s and 1990s, Mr. Mechai played a major role in developing national HIV communication and prevention campaigns that have a number of important elements, including behavioural change promotion and the support of the 100% Condom Use Programme. The success of Thailand in controlling the spread of HIV has been used as an example in the international public health arena. Mr. Mechai’s pioneering work in demystifying and advocating the use of condoms has contributed towards the health of several hundreds of million of people living around the world.          Their Majesties the King and the Queen have graciously consented to preside over the Presentation Ceremony of the Prince Mahidol Award 2009 at the end of January 2010 at the Chakri Throne Hall.           The Prince Mahidol Award Foundation was established to commemorate the centenary of the birth of His Royal Highness Prince Mahidol of Songkla on 1st January 1992.The Foundation is under Royal Patronage, with Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn as president.The Prince Mahidol Award is conferred annually upon individual(s) or institution(s) demonstrating outstanding and exemplary contribution to the advancement of medical and public health services throughout the world. Each Award consists of a medal, a certificate and US$50,000.  In the past 17 years, 51 individuals, groups of individuals, and institutions have received the Prince Mahidol Award. Among them, two subsequently received the Nobel Prize in Physiology or Medicine, namely Professor Dr. Barry James Marshall and Professor Dr. Harald zur Hausen.