ลู่ทางการค้าการลงทุนในรัฐมหาราษฏระและรัฐคุชราต

ลู่ทางการค้าการลงทุนในรัฐมหาราษฏระและรัฐคุชราต

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 มิ.ย. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 3,527 view

ข่าวเศรษฐกิจ ลำดับที่ 3 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2553

          ลู่ทางการค้าการลงทุนในรัฐมหาราษฏระและรัฐคุชราต         

 

ก. ลู่ทางการค้าการลงทุนในรัฐมหาราษฏระ

1.  การก่อสร้าง

     1.1  รัฐมหาราษฏระเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน (infrastructure) ต่างๆ ยังขาดแคลน/ด้อยพัฒนา ภาครัฐจึงมีแผนเร่งพัฒนาโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ จำนวนมากขึ้นมารองรับการเติบโตของเศรษฐกิจโดย เฉพาะเมืองมุมไบที่รัฐบาลกลางและรัฐบาลรัฐมหาราษฏระมีแผนพัฒนาร่วมกันให้ เป็นเมืองระดับโลก (World-class City) ภายในปี 2556 เทียบเท่าเซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ โดยคาดว่าต้องใช้งบประมาณ

2 ล้านล้านรูปี โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาด้วย บริษัทต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ร้อยละ 100 ในโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า โครงการก่อสร้างถนน ทางด่วนและท่าเรือ และโครงการก่อสร้างระบบขนส่งสาธารณะ เป็นต้น

     1.2  โครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้า รัฐบาลมหาราษฏระได้ลงนาม MoU โครงการผลิตไฟฟ้ากับเอกชน 8 บริษัท ได้แก่ Tata Power, Jindal Power Corporation, CIPCO, GMR Energy, ESPAT Energy, Reliance Energy, Spectrum Technology และ ESSAR

     1.3  โครงการก่อสร้างถนน Maharashtra State Road Development Corporation (MSRDC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 เป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลโครงการก่อสร้างถนน สะพานลอย และทางด่วนภายในรัฐมหาราษฏระ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะ “Build, Operate and Transfer” สร้างแล้วเสร็จมาแล้ว 12 โครงการ มูลค่า 42,010 ล้านรูปี สำหรับโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ ได้แก่ โครงการก่อสร้าง Bandra-Worli Sealink มูลค่า 16,340 ล้านรูปี  โครงการ Western Freeway Sealink มูลค่า 41,430 ล้านรูปี  โครงการ Mumbai Trans Harbour Sealink มูลค่า 34,200 ล้านรูปี  โครงการ Improvement of Nagpur-Aurangabad-Sinnar-Ghoti Road มูลค่า 7,220 ล้านรูปี โครงการ Four laning Satara-Kolhapur-Kagal National Highway มูลค่า 7,500 ล้านรูปี โครงการ PWD Road Works in Nagpur Circle มูลค่า 160 ล้านรูปี โครงการ Marathawad Vikas Karyakram มูลค่า 110 ล้านรูปี โครงการ Satara-Chalekwadi มูลค่า 200 ล้านรูปี โครงการ Widening of Nagpur-Katol-Jalkheda road มูลค่า 110 ล้านรูปี และโครงการพัฒนาถนนในเมืองต่างๆ อาทิ Nagpur (4,220 ล้านรูปี) Aurangabad (1,420 ล้านรูปี) Nandurbar

(210 ล้านรูปี) Amravati (1,150 ล้านรูปี) Nanded (880 ล้านรูปี) Pune (2,710 ล้านรูปี) Baramati (360 ล้านรูปี) Solapur (880 ล้านรูปี) และ Kolhapur (1,720 ล้านรูปี)

     1.4 โครงการพัฒนาระบบขนส่งในเมืองมุมไบ Mumbai Metropolitan Region Authority (MMRDA) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โครงการที่กำลังดำเนินการ ได้แก่ โครงการพัฒนารถไฟสายใหม่เฟสแรกสาย  Mahim-Santacruz, Kurla-Thane และ Borivli-Virar มูลค่า 31,400 ล้านรูปี เฟสที่สองสาย Kurlu-CST, Thane-Diva, Borivli-Mumbai Central มูลค่า 53,000 ล้านรูปี โครงการ Mumbai Metro Rail ระยะทาง 146.5 กม. มูลค่า 23,560 ล้านรูปี โครงการ Mumbai Mono Rail ระยะทาง 70 กม. มูลค่า 24,600 ล้านรูปี โครงการ MUIP สร้างถนน สะพานลอย และรถไฟใต้ดิน มูลค่า 24,670 ล้านรูปี 

      1.5  รัฐมหาราษฏระมีท่าอากาศยานนานาชาติ 3 แห่ง ได้แก่ Mumbai, Nagpur และ Pune และท่าอากาศยานภายในประเทศ 5 แห่ง ได้แก่ Mumbai, Pune, Nagpur, Aurangabad และ Kolhapur เมื่อปี 2545 ได้มีการจัดตั้งบริษัท Maharashtra Airport Development เพื่อเป็นหน่วยงานหลักกำกับดูแลโดยมุขมนตรีของรัฐมหาราษฏระ พัฒนาโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานระดับโลก  Multi-modal International Hub Airport บนพื้นที่ 4,345 เฮคเตอร์ ที่เมือง Nagpur สำหรับรองรับผู้โดยสาร 18.9 ล้านคน รองรับการขนส่งสินค้า 1.17 ล้านตัน รวมทั้งการพัฒนาท่าอากาศยานอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ Airport Authority of India หรือ Indian Air Force เช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ Shirdi, Jalgaon, Solapur, Amravati และ Rajgurunagar มูลค่ารวม 82,000 ล้านรูปี

      1. 6 โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่เขต Navi Mumbai  อยู่ห่างจากตัวเมืองมุมไบประมาณ  45 กม. ประกอบด้วยอาคาร Domestic Terminal ขนาด 250,000 ตารางเมตร ที่จอดรถ 3,025 คัน อาคาร International Terminal ขนาด 215,000 ตารางเมตร ที่จอดรถ 2,075 คัน คลังเก็บสินค้าขนาด 100,000 ตารางเมตร และที่จอดเครื่องบิน 83 Bays สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น Airbus A380 และ 4-E นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างเมืองมุมไบตอนล่างกับเขต Navi Mumbai ความยาว 25 กม. คาดว่างบประมาณไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านรูปี รวมทั้งการพัฒนาการขนส่งทางน้ำจากเมืองมุมไบตอนล่างไปยังเขต Navi Mumbai โดยใช้ catamaran หรือ hovercraft ขนาดใหญ่ด้วย

2. การค้าปลีก

    2.1 ตลาดผู้บริโภคของรัฐมหาราษฏระเป็นตลาดมีขนาดที่ใหญ่มาก (ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรประมาณ 109.7 ล้านคน) เป็นรัฐที่มีเศรษฐีและมหาเศรษฐีอยู่มากที่สุดในอินเดีย ประมาณร้อยละ 30 ของประชากรเป็นชนชั้นกลางขึ้นไป (กว่า 30 ล้านคน) ซึ่งมีอำนาจซื้อสูง มีการศึกษา มีความต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดี เปิดรับและชอบลองสิ่งใหม่ๆ ในขณะที่ขีดความสามารถในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคของอินเดียยังมีค่อนข้าง จำกัด สภาพที่เกิดขึ้น คือ ผู้บริโภคมีกำลังซื้อและมีอุปสงค์อยากจะซื้อ แต่ไม่มีอุปทานรองรับอย่างเพียงพอในตลาด กอรปกับภาครัฐมีนโยบายปกป้องภาคการค้าปลีกอย่างแข็งขัน ไม่ยอมเปิดเสรีการค้าปลีก ทั้งนี้ เพื่อปกป้องธุรกิจครอบครัวรายเล็กรายย่อย หรือที่เรียกว่า “Kirana Dukans” (Mom-and-Pop Stores) ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานถึง 42 ล้านคน จะผ่อนปรนอนุญาตการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ในธุรกิจขายปลีกประเภท 1 Brand เช่น Sony, Rebook, Nike, Gucci ฯลฯ โดยมีสัดส่วนการเป็นเจ้าของไม่เกินร้อยละ 51 เท่านั้น ยังไม่อนุญาตการค้าปลีกในลักษณะ supermarket หรือ department store อย่างไรก็ดี รัฐบาลอินเดียค่อยๆ ผ่อนคลายการปกป้องลงอย่างช้าๆ เพื่อลดแรงกดดันจากประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งพยายามผลักดันให้อินเดียเปิดเสรีค้าปลีกในเวทีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

     2.2 สินค้าอุปโภคบริโภคของไทยส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคของรัฐมหาราษฏระว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพค่อนข้างดี (ดีกว่าของอินเดียและของจีนโดยเปรียบเทียบ) แม้ราคาสูงกว่าบ้างก็ตาม อย่างไรก็ดี การกระจายสินค้าไทยสู่ตลาดรัฐมหาราษฏระยังไม่ทั่วถึง หาซื้อค่อนข้างยาก รัฐมหาราษฏระมีชายฝั่งทะเลยาว 720 กม. มีท่าเรือหลักที่สำคัญ 2 แห่ง คือ Mumbai Port Trust  (MbPT) และ Jawaharlal Nehru Port Trust (JNPT) และท่าเรือเล็กๆ อีก 48 แห่ง เป็นแหล่งกระจายสินค้าสู่เมืองมุมไบ เมืองปูเน่ และเมืองใกล้เคียง

      2.3  สำหรับสินค้าผักและผลไม้ไทย ส่วนใหญ่กระจายไปสู่ตลาดขายส่ง 2 แห่ง คือ Crowford Market เป็นทั้งตลาดขายส่งและขายปลีกขนาดใหญ่ในย่านมุมไบตอนใต้ และ APMC Fruit Market เป็นตลาดขายส่งขนาดใหญ่อยู่ในเขต Navi Mumbai นอกจากนั้น ยังพบวางจำหน่ายใน supermarket และ hypermarket ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในเมืองมุมไบ เช่น Inorbit, Hypermart, Nature’s Basket

3.   อาหารสำเร็จรูป     

      3.1  แนวโน้มการบริโภคสินค้าอาหารสำเร็จรูปบรรจุภาชนะ (Ready-To-Eat Packaged Foods - RPF) ในรัฐมหาราษฏระมีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 30 ต่อปี ปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ การขยายตัวของชนชั้นกลาง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการสร้างรายได้ของครอบครัว กล่าวคือ    ทั้ง สามีและภรรยาทำงาน แทนที่สามีจะเป็นผู้หารายได้เพียงคนเดียวดังเช่นในอดีต ระยะเวลาที่อยู่ที่สถานที่ทำงานในแต่ละวันนานขึ้น การเดินทางไปและกลับจากที่ทำงานต้องประสบปัญหาการจราจรที่ติดขัด ตัวอย่างเช่น การเดินทางโดยทางรถยนต์จากตัวเมืองมุมไบไปยังท่าอากาศยานระยะทาง 30 กม. ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ½ -3 ชั่วโมง

      3.2  ชน ชั้นกลางเหล่านี้ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัยมากกว่าในอดีต นอกจากนี้ ยังให้ความสนใจเรื่องคุณภาพมากกว่าราคาด้วย โดยจะซื้อสินค้าคุณภาพดี ถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่าสินค้าทั่วไปก็ตาม ราคาจำหน่ายของ RPF คุณภาพดี ประมาณ 98 รูปี  ส่วนสินค้าประเภทเดียวกันแต่ไม่มีเนื้อสัตว์เจือปน จำหน่ายในราคาประมาณ 35 รูปี

    3.3  ในปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิต RPF คุณภาพดีใช้กรรมวิธี “Retort Process” กล่าวคือ หลังจากอาหารบรรจุลงในถุงประเภท multi-layered films หลายชั้น โดยกระบวนการสูญญากาศแล้ว จะใช้ความร้อนประมาณ 120 องศาเซลเซียส เพื่อทำให้อาหารสุก และลดอุณหภูมิด้วยความรวดเร็ว เพื่อฆ่าเชื้อโรค ประเภท microorganism และ Clostridium Botulinum ที่เป็นเชื้อโรคในอาหาร  RPFไม่ผสมสารกันบูด (preservatives) และมีอายุการเก็บรักษา (shelf life) คือ 1 ปี

      3.4  ผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์จะเจาะตลาด RPF รัฐมหาราษฏระควรศึกษารูปแบบ RPF ของบริษัท ITC ซึ่งเป็นบริษัทผลิต RPF คุณภาพดีของอินเดีย ที่ website ของบริษัท ITC: www.itcportal.com ทั้งนี้ หากใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบอาหารควรเป็นเนื้อไก่ หรือเนื้อแกะที่โตเต็มที่ (mutton) นอกจากเนื้อวัว ที่ชาวฮินดูไม่บริโภค ส่วนใหญ่ยังไม่นิยมบริโภคเนื้อหมู และน้ำมันพืชที่ใช้ผสมอาหารจะต้องไม่มีไขมันสัตว์เจือปน

4.  ภาคการธนาคาร   

      4.1  ธนาคารชาติอินเดีย (Reserve Bank of India: RBI) มี อำนาจกำกับดูแลรวมทั้งเป็นผู้อนุญาตให้ธนาคารต่างชาติดำเนินธุรกิจในอินเดีย โดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป ปัจจุบัน ธนาคารต่างชาติในอินเดียมีจำนวน 24 ธนาคาร อาทิ Standard Chartered Bank, Hong Kong and Shanghai Banking Corporation Limited (HSBC), Abu Dhabi Commercial Bank, Citibank NA,  ABN AMBRO Bank และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธนาคารไทยเพียงแห่งเดียวในอินเดียและมีเพียง 1 สาขาที่เมืองมุมไบเท่านั้น    

      4.2  ธนาคารต่างชาติต้องมีทุนขั้นต่ำจำนวน 3 พันล้านรูปี และRBI อนุญาตให้ขยายสาขาได้ปีละ 12 สาขา (อนุญาตให้ธนาคารของอินเดียซึ่งในปัจจุบัน ร้อยละ 90 เป็นธนาคารของรัฐเปิดได้ 40 สาขา ต่อปี)

      4.3  รัฐบาลอินเดียกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการลงทุนในภาคการธนาคารในอินเดียของธนาคารต่างชาติ 2 ระยะ คือ ระยะแรก (ปี 2548 - มี..2552)  สาขาของธนาคารต่างชาติในอินเดียสามารถขอเปลี่ยน เป็นธนาคารเต็มรูปแบบโดยมีเงินทุนขั้นต่ำ 3 พันล้านรูปี และธนาคารต่างชาติในอินเดียสามารถซื้อสัดส่วนการเป็นเจ้าของธนาคารอินเดียที่อยู่ในกระบวนการ restructuring ของ RBI เท่านั้น ร้อยละ 15 หรือสูงกว่าตามที่ RBI อนุมัติ  สำหรับระยะที่สอง (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นไป)

            -  ธนาคารต่างชาติจะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับธนาคารอินเดีย (national treatment)  หากได้รับอนุมัติจา RBI ธนาคารต่างชาติในอินเดียสามารถซื้อสัดส่วนการเป็นเจ้าของธนาคารเอกชนอินเดียร้อยละ10 หรือสูงกว่า นอกจากนี้  RBI อนุญาตให้การลงทุนต่างชาติซื้อสัดส่วนการเป็นเจ้าของธนาคารเอกชนในอินเดียแต่ละแห่งไม่เกินร้อยละ 74 โดยนักลงทุนต่างชาติที่เป็นนิติบุคคล (Foreign Institutional Investor – FII) ทั้งนี้ FII แต่ละรายจะมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของได้ไม่เกิน ร้อยละ 49 และนักลงทุนทั่วไป (Individual Investor) สามารถลงทุนได้สูงสุด ร้อยละ 10 แต่ละรายจะมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของได้ไม่เกิน ร้อยละ 5 อนึ่ง RBI กำหนดสิทธิในการลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้นต่างชาติแต่ละรายไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด        

                                                                                     

ข. ลู่ทางการค้าการลงทุนในรัฐคุชราต

1.   ข้อมูลพื้นฐาน รัฐคุชราตตั้งอยู่ทางชายฝั่งภาคตะวันตกของอินเดีย มีชายฝั่งยาว 1600 กม. (ยาวที่สุดในอินเดีย) มีรัฐหนึ่งของอินเดียแหล่งลงทุนภาคอุตสาหกรรมของนักลงทุนทั้งอินเดียและต่าง ชาติ เนื่องจากมีที่ตั้งที่เหมาะสม มีระบบสาธารณูปโภค แรงงาน และแหล่งเงินทุนรองรับเพียงพอ  ในช่วง 2551-2551 GDP เท่ากับ 61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  มีรายได้ต่อหัวประมาณ 751 ดอลลาร์สหรัฐ สินค้าของรัฐคุชราตส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.20 ของอินเดียทั้งหมด

2.  การส่งเสริมการลงทุน รัฐคุชราตได้ปรับปรุงระเบียบการขอรับการส่งเสริมให้มีขั้นตอนลดลง โดย       ผู้ขอรับการส่งเสริมสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมทางอินเตอร์เน็ตผ่าน Gujarat Investor Portal  พร้อมทั้งมีการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภคเพื่อให้นักลงทุนได้รับความสะดวกในการเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน  พร้อมทั้งจัดทำระบบข้อมูลของรัฐคุชราตที่จำเป็นสำหรับนักลงทุนในพื้นที่ต่างๆ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ทั้งรัฐคุชราต  มีการแบ่งแยกพื้นที่สำหรับส่งเสริมการลงทุนโดยชัดเจน พร้อมกับจัดสิทธิและประโยชน์ให้นักลงทุนด้วย

3.  ภาคอุตสาหกรรมของรัฐคุชราต  เป็นแหล่งแปรรูปเกลือร้อยละ 85 ของอินเดีย แปรรูปเพชรร้อยละ 80 ของอินเดีย (อันดับ 1 ของโลก) อุตสาหกรรมพลาสติดร้อยละ 65 ของอินเดีย ปิโตรเคมีร้อยละ 62 ของอินเดีย เคมีภัณฑ์ร้อยละ 51 ของอินเดีย ยาร้อยละ 45 ของอินเดีย วิศวกรรมร้อยละ 9 ของอินเดีย

4.   รัฐคุชราตเป็นแหล่งลงทุนอันดับ 1 ของอินเดีย โดยมีโครงการลงทุนถึง 100 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 62442 ล้านรูปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22 ของการลงทุนทั้งหมด  ทั้งนี้ รัฐคุชราตรับการลงทุนจากต่างชาติมากเป็นลำดับ 2 ในอินเดีย (รองจากมุมไบ รัฐมหาราษฏระ) มูลค่าเงินลงทุน FDI ในปี 2551 เท่ากับ 4045.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีโครงการลงทุนร่วมรัฐเอกชน 68 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  อาทิ ท่าเรือ 21 โครงการ พลังงานไฟฟ้า 13 โครงการ ถนน 16 โครงการ รถไฟ         6 โครงการ  เทคโนโลยีสารสนเทศ 9 โครงการ น้ำ 2 โครงการ การขนส่งในเมือง 1 โครงการ

5.  พื้นที่ส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ Ahmedabad Dholera Investment Region, Palanpur Mehsana Industrial Area, Vadodara-Ankleshwar Industrial Area, Bharuch-Dahej Investment Region, Surat Navsari Induatrial Area, Valsad Umbergaon Industrial Area

6.  โครงการส่งเสริมการลงทุน  โครงการขนาดใหญ่ โครงการที่มีนวัตกรรมสูง โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาท่าเรือ บริการที่เกี่ยวข้องกับ Logistics  ใน อนาคต รัฐคุชราตประสงค์จะพัฒนาเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจส่งเสริมการลงทุนร่วมรัฐและเอกชนในการพัฒนา เมือง  ใช้ประโยชน์จากระบบ สาธารณูปโภคที่มีอยู่แล้วให้มากที่สุด โดยมีโครงการต่างๆ อาทิ การพัฒนาการขนส่งมวลชน รถประจำทาง ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด และปรับเปลี่ยนรถประจำทางและรถสามล้อเครื่องในคุชราตให้ใช้พลังงานก๊าซ CNG ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาดแทน

     -  โครงการพัฒนาพื้นที่จำนวน 22.15 เฮกเตอร์  (Sabarmati River Front Development)  )   ซึ่งเป็นพื้นที่เวรคืนในเมือง Ahmedabad ให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ สร้างบ้านเรือนราคาแพง พัฒนาเป็นศูนย์การค้า ศูนย์นันทนาการ และใช้พื้นที่เพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆ  และจัดพื้นที่ 15.48 เฮกเตอร์ พัฒนาเป็นที่พักสำหรับผู้ที่เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดจำนวน 7000 คน

* * * * * * * *